Vitamin E เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้
ประโยชน์ Vitamin E
- เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญโดยมีออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี
- เป็นตัวช่วยไขกระดูกใน
การสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด
ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด
และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ
- บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก
- ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ
- ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น
- ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย
แหล่งVitamin E
Vitamin E มีมากในน้ำมันจากธัญพืชและถั่วประเภท
เปลือกแข็ง การเก็บรักษาให้วิตามินอีควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดด
รวมทั้งออกซิเจนในอากาศ การขัดสี การบด
จะทำให้ญพืชสูญเสียวิตามินอีไปจำนวนมาก
ร่างกายคนเราต้องการ
Vitamin E อยู่ที่วันละ 10-15 IU
อันตรายจากการขาด Vitamin E
- โรคหัวใจกำเริบ วิตามินอีมีหน้าที่ในการจับสารที่เข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การขาดวิตามินอีทำให้สารเหล่านี้เข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดทำให้
เนื้อเยื่อต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
ก่อให้เกิดก้อนเลือดและที่สุดทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบได้
- ระบบประสาทมีปัญหา ในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไขมันและในเด็กทารกที่
คลอดก่อนกำหนด
การได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบ
ประสาทและเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย
อันตรายจากการได้รับ Vitamin E มากเกินไป หรือรับประทานเป็นประจำ
การได้รับ
Vitamin E มากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้า
ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย มีอาการอึดอัดในช่องท้อง ท้องร่วง
หากร่างกายได้รับวิตามินอีสูงมากอาจขัดขวางการดูดซึม
วิตามินเอซึ่ง
ส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า อย่างไรก็ตามผลการศึกษาระยะยาวในเพศชายวัยกลางคน
กลับพบว่า การรับประทาน
Vitamin E (400 IU วันเว้นวัน) หรือวิตามิน ซี (500
mg ต่อวัน)
ไม่ช่วยให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ
ลดลงแต่อย่างใด Physicians’ Health Study II Randomized Controlled Trial
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของ
Vitamin E , C และวิตามินรวม
ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคตา(ที่สัมพันธ์กับอายุ)
รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น การศึกษานี้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2541
และสิ้นสุดลงเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2551 (เฉพาะในส่วนของ
Vitamin E และ C)
มีผู้เข้าร่วมในการศึกษาคือแพทย์ผู้ชาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา อายุตั้งแต่
50 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 14,641 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ได้รับ Vitamin E 400 IU วันเว้นวัน (n=3,659)
กลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี 500 mg วันละครั้ง (n=3,673)
กลุ่มที่ได้รับวิตามินเสริมทั้งสองชนิด (n=3,656) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
(n=3,653) จากการติดตามผลระยะยาวเป็นเวลา 8 ปี (117,711 person-years)
ตรวจพบมะเร็งโดยรวมทุกชนิด 1,943 ราย แต่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก 1,008 ราย
มีผู้เสียชีวิตระหว่างการศึกษา 1,661 ราย ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน อี
และยาหลอก อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.1 และ 9.5 [Hazard
Ratio=0.97; 95%CI 0.85-1.09; P=.41] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ
17.8 และ 17.3 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.04; 95%CI
0.95-1.13; P=.41] ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก
พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.4 และ 9.2 [Hazard
Ratio=1.02; 95%CI 0.90-1.15; P=.80] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ
17.6 และ 17.5 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.01; 95%CI
0.92-1.10; P=.86] นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับประทานวิตามิน อี หรือ ซี
ไม่เกี่ยวข้องกันกับการเกิดมะเร็งเฉพาะที่ (site-specific cancers) เช่น
มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และไม่มีผลต่ออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น minor
bleeding, GI symptoms, fatigue, drowsiness อย่างมีนัยสำคัญ